24 กันยายน, 2551

เทคโนโลยีที่สนใจ


ข้อมูลทั่วไป SKG M831 - เอสเคจี
- TV Mobile Phone -
เปิดตัวครั้งแรก 22 กันยายน 2008 (สยามโฟนฯ)
ออกวางจำหน่าย ไตรมาสที่ 3 ปี 2008 (กันยายน 51)
ราคามือถือ (เปิดตัว) 6,950 บาท (กันยายน 51)
-----------------------------------------------------------
ข้อมูลตัวเครื่อง (Spec)
ระบบ Dual band (GSM900/1800 MHz)
จอสัมผัส TFT-LCD 65k สีี - 240 x 320 พิกเซล (2.8")- ระบบจดจำลายมือ (Handwriting recognition)
ปุ่มควบคุม 5 ทิศทาง (5 ways Navi-Key)
เสียงเรียกเข้า MP3, Polyphonic- ระบบสั่น (Vibration in Phone)
หน่วยความจำ 760 กิโลไบต์ (ตัวเครื่อง) - การ์ดหน่วยความจำ microSD - สูงสุด 2 GB
บันทึกหมายเลขโทรศัพท์ 500 รายชื่อ (Phonebook)
-------------------------------------------------------------
ระบบเชื่อมต่อและส่งข้อมูล (Connectivity)
ส่งผ่านข้อมูล (Data Transfer)- บลูทูธ Bluetooth™ , USB Port- รองรับชุดหูฟังสเตอริโอ (A2DP Bluetooth™ Stereo)
ใช้งานอินเตอร์เน็ต WAP 2.0
รับ-ส่งข้อความ (Messaging) - MMS, SMS ผ่าน GPRS
-------------------------------------------------------------
จุดเด่นและคุณสมบัติพิเศษ (Feature)
เครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ในตัว (TV Tuner)
กล้องดิจิตอล 1.3 ล้านพิกเซล (Digital Camera)
บันทึกภาพวีดีโอ พร้อมเครื่องเล่น (Video recording & Playback) - รูปแบบไฟล์ : MPEG4, H.263, .3GP
เครื่องเล่น MP3 Player, วิทยุ FM radio
แฮนด์ฟรีในตัว (Build-in Handsfree)
บันทึกเสียง (Voice recording)
E-Book reader สำหรับอ่านไฟล์เอกสารไฟล์ .txt
นาฬิกาปลุก, แปลงหน่วย, อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
บันทึกนัดหมาย, ปฏิทิน, นาฬิกาจับเวลา, นับถอยหลัง, เวลาโลก
---------------------------------------------------------------
การใช้งานของแบตเตอรี่
แบตเตอรี่มาตรฐาน Li-Ion 1,100 mAh (Standard Battery)
เปิดรอรับสาย 200 - 250 ชั่วโมง (Standby Time)
สนทนาต่อเนื่อง 6 - 7 ชั่วโมง (Talk Time)

เมื่อเราเปิดเครื่อง เครื่องเป็นอย่างไร

การเปิดเครื่อง


เริ่มต้นการทำงานของคอมพิวเตอร์ (Boot up) เมื่อทำการกดสวิทช์ Power On เครื่องคอมพิวเตอร์จะอ่านสิ่งที่ต้องทำมาจาก BIOS (Basic Input Output System) โดย BIOS จะสั่งให้ทำกระบวนการหนึ่งที่เรียกว่า POST(Power On Self Test) กระบวนการนี้ถูกบรรจุในหน่วยความจำ (MEMORY) ของคอมพิวเตอร์ แต่ปัจจุบันมักจะเก็บใน EPROM (Erasable Programmable Read Only Memory) มากกว่า คือเป็นหน่วยความจำที่อ่านอย่างเดียว และไม่ต้องใช้กระแสไฟเลี้ยง แต่สามารถใช้กระแสไฟฟ้าเข้าไปลบ หรือแก้ไขโปรแกรมใน EPROM ได้ เรียกว่าการแฟลช (flash) ROM NOTE: การเริ่มต้นการทำงานของคอมพิวเตอร์ (BOOT UP) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ Cold Boot ซึ่งเป็นการบูทที่เริ่มต้นจากการกดสวิทช์ Power On ของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้คอมพิวเตอร์เริ่มการทำงาน POST และบูทตามลำดับ Warm Boot เป็นการสั่งบูทระบบใหม่ ด้วยการกดปุ่ม Reset หรือการกดปุ่ม Ctrl+Alt+Del หรือการสั่ง Restart เครื่องคอมพิวเตอร์ เรียกได้ว่าเป็นการสั่งบูทด้วยซอฟต์แวร์







เมื่อเปิดเครื่องระบบทดสอบตนเองได้อย่างไรเมื่อเปิดสวิตซ์ไฟเครื่อง



ดูเหมือนว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้นเป็นเวลาหลายวินาที แต่แท้จริงแล้วเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณกำลังทำงานที่ซับซ้อนจำนวนมาก เพื่อตรวจสอบและทดสอบว่าชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ประกอบเข้ากับตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ยังสามารถทำงานได้อย่างปกติหรือไม่ และถ้าไม่ เครื่องก็จะเตือนคุณด้วยเสียงหรือตัวอักษรอะไรบางอย่างบนหน้าจอ เป็นต้น กระบวนการนี้เป็นขั้นตอนแรกของเครื่องพีซีที่เรียกว่า บูตอัป (bootup)หรือที่เราเรียกกันง่าย ๆ ว่า “บูต” มาจากคำว่าบูตสแทรปปิ้ง (bootstrapping) หรืออาการเปลี่ยนจากนอนเป็นลุกขึ้นยืนโดยการดึงเชือกรองเท้าบูตของพวกคาวบอย (พวกคาวบอยจะใส่รองเท้าเวลานอน และมักจะตัวหนักเกินกว่าจะลุกขึ้นได้เองโดยลำพัง ส่วนใหญ่จะให้เพื่อนอีกคนส่งมือแล้วดึงลุกขึ้น แต่บางทีไม่มีคนช่วยจึงใช้การดึงเชือกรองเท้าเพื่อยกตัวขึ้นยืนแทน “ด้วยตัวเอง” วิธีการช่วยตัวเองเพื่อลุกขึ้นตั้งสติของพีซีแบบนี้ จึงลอกเลียนคำว่าบูตจากคาวบอยมาด้วยประการเช่นนี้การบูตเป็นสิ่งสำคัญ เพราะในระยะแรกเครื่องพีซีจะทำได้แค่ตรวจอุปกรณ์ที่มาต่อพ่วงกับมัน และทำให้มันมีชีวิตขึ้น ส่วนขั้นตอนการใช้งาน การจัดการ หรือการบริหารอุปกรณ์เหล่านี้ เครื่องพีซีจะโยนให้เป็นภาระของระบบปฏิบัติการหรือโอเอสแทน (หรือดอสนั่นเอง)เอาล่ะ ก่อนที่เราจะพูดถึงกลวิธีการบูตในบทต่อไป ในบทนี้เราสำรวจและศึกษาวิธีการทดสอบตนเองของเครื่องพีซีเมื่อครั้งแรกที่เปิดเครื่องก่อน กระบวนการนี้ฝรั่งจะเรียกว่า “โพสต์” ซึ่งมาจากคำว่า POST (Power-OnSelf-Test )โพสต์เป็นสิ่งแรกที่เครื่องพีซีทำเวลาที่เปิดเครื่องใหม่ ๆ โพสต์จะทำหน้าที่ตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคีย์บอร์ด ระบบแสดงผล หรืออุปกรณ์พื้นฐานอื่น ๆ มันจะส่งข้อความเตือนหรือเสียงเตือนถ้ามีอะไรที่ผิดพลาด เช่น เสียงปิ๊บ (beep) ครั้งเดียว และหน้าจอแสดงเครื่องหมายดอสพร็อมต์ เช่น เครื่องหมาย C:> เป็นต้น ก็แสดงว่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในเครื่องได้ผ่านการทดสอบของโพสต์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว (ในครั้งต่อไปที่พูดถึงเครื่องหมายดอส “พร็อมต์” ผู้เรียบเรียงขอใช้คำว่า “พร้อม” แทน เพราะดูเข้าท่าและสื่อความหมายนัยเดียวกันได้พอเหมาะพอเจาะ) แต่ในกรณีที่เกิดเสียงปิ๊บสั้นและยาวติดต่อกันหรือสลับกัน นั่นแสดงว่าเกิดปัญหาขึ้นแล้วดังแสดงในตาราง


(เครื่องหมาย • แสดงเสียงปิ๊บสั้น และครื่องหมาย _ แสดงเสียงปิ๊บยาว)

กระบวนการ POST (Power-On-Self-Test)

Process POST (Power-On-Self-Test)


กระบวนการ power on self test (POST) ของเมนบอร์ด คือ การตรวจสอบความพร้อมของระบบโดยรวมของตัวเมนบอร์ดและอุปกรณ์ที่สำคัญของระบบ ก่อนที่จะทำการ เริ่มระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ ถ้ากระบวนการ power on self test ทำงานได้ไม่สมบูรณ์ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตามจะไม่สามารถเริ่มระบบปฏิบัตการได้ (ระบบปฏิบัติการ หรือ Operatinng system คือส่วนของโปรแกรมระบบ เช่น วินโดว์ ดอส หรือ โอเอสทู ลีนุกส์ เป็นต้น)กระบวนการ Power on self test เรื่มเมือใด?กระบวนการ power on self test จะเริ่มทำงานทันทีทีทำการ เปิดสวิทซ์ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ (power on) แล้วจะเริ่มทำการตรวจสอบส่วนประกอบพิ้นฐานสำคัญต่างๆของคอมพิวเตอร์





1.เมื่อเปิดเครื่องกระแสไฟฟ้าจะกระตุ้นให้ซีพียูเริ่มทำงาน โปรแกรมถาวรที่ฝังภายในตัวซีพียูจะเริ่มทำงานโดยการล้างหน่วยความจำภายในซีพียู หรือที่เรียกกันว่า รีจิสเตอร์ (register) ให้ว่างเปล่า จากนั้นกำหนดให้ริจิสเตอร์ตัวหนึ่งที่ชื่อว่าโปรแกรมเคาร์เตอร์มีค่าตำแหน่งเฉพาะค่าหนึ่ง (program counter ทำหน้าที่จดจำหมายเลขหน่วยความจำที่จะทำการดึงคำสั่งโปรแกรมขึ้นมาทำงาน) โดยถ้าเป็นเครื่องรุ่นAT จะเริ่มทำงานที่แอดเดรสหรือตำแหน่งที่เลขฐานสิบหกที่ F000 ซึ่งเป็นตำแหน่งเริ่มต้นของโปรแกรมบูตนั่นเอง ข้อสังเกต เราจะใส่โปรแกรมบูต “ส่วนแรก” ลงในหน่วยความจำถาวรที่เรียกว่า รอม (ROM :Read-Only Memory ) และส่วนที่สองลงในแผ่นดิสก์ที่มีโอเอส ดังนั้นเมื่อปิดเครื่องโปรแกรมก็ยังคงไม่หายไปไหน เมื่อกลับมาเปิดเครื่องใช้ใหม่ ซีพียูก็จะสามารถอ่านโปรแกรมบูตนี้ได้เหมือนเดิม รอมที่ว่านี้อาจเรียกว่า ไบออส (BIOS : Basic Input/Output System) ก็ได้




2. ซีพียูใช้ตำแหน่งแอดเดรสที่อ้างอิงครั้งแรกนี้ เรียกคำสั่งแรกของโปรแกรมบูตของรอมไบออสขึ้นมา ซึ่งเท่ากับเป็นการเริ่มการบวนการ “โพสต์” โดยเริ่มแรกจะเป็นคำสั่งให้ซีพียูทำการตรวจสภาพตัวซีพียูเองว่าสมบูรณ์หรือไม่ จากนั้นโปรแกรมก็จสั่งให้ซีพียูลองย้อนกลับไปตรวจสอบโปรแกรมโพสต์ว่าถูกต้องหรือไม่ โดยการอ่านพื้นที่หลาย ๆ พื้นที่ของโปรแกรมภายในรอม แล้วลองเทียบกับตัวเลขที่ตอนบันทึกไว้ตั้งแต่ตอนเริ่มสร้างรอม


3. ซีพียูส่งสัญญาณไปทั่วระบบบัสเพื่อให้มั่นใจว่าชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ busคือ กลุ่มของสายไฟที่ใช้เป็นเส้นส่งถ่ายคำสั่งและข้อมูลระหว่างชิ้นส่วนหรือระหว่างซีพียูกับชิ้นส่วนต่าง ๆหรืออาจกล่าวว่า บัส หมายความว่า วงจรไฟฟ้าเชื่อมชิ้นส่วนที่สำคัญต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และทำให้ชิ้นส่วนเหล่านี้สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้ )


4. ซีพียูทำการตรวจว่ามีโปรแกรมภาษาเบสิกอยู่หรือไม่ และสมบูรณ์หรือไม่ จากนั้นจะหันไปทำการตรวจสอบตัวกำเนิดสัญญาณนาฬิการ (timer) ซึ่งบางทีเราจะเรียกว่าคริสตัล (crytal) ทั้งนี้ให้มั่นใจว่าจะทำงานเพรียงกันได้อย่างสมบูรณ์ (ตัวกำเนิดสัญญาณนาฬิกาจะเป็นตัวกำหนด “จังหวะ” การทำงานของชิ้นส่วนต่าง ๆ รวมทั้งตัวซีพียู และเจ้าตัวนี้เองที่มีหน่วยเป็นเมกะเฮิรตซ์ (MHZ) เช่น เครื่อง 486-50 ก็มักหมายความว่าเป็นเครื่องพีซีที่ใช้คริสตัลความเร็ว 50 เมกะเฮิรตซ์ หรือทำงาน 50 ล้านจังหวะต่อวินาทีนั่นเอง )


5. ต่อมากระบวนการ “โพสต์” ก็จะทำการตรวจหน่วยความจำบนการ์ดแสดงผล (Monochrome, EGA,VGA ฯลฯ) และสัญญาณภาพ (video signal) เมื่อพบว่าสมบูรณ์ก็จะนำโปรแกรมไบออสที่อยู่บนการ์ดแสดงผลมาผนึกรวมเป็นส่วนหนึ่งของไบออสระบบและกำหนดคุณสมบัติให้กับหน่วยความจำ ถึงตอนนี้คุณจะเริ่มเห็นอะไรบางอย่างปรากฏที่จอมอนิเตอร์เป็นครั้งแรก



6. โพสต์จะทำการตรวจสอบหน่วยความจำหลักที่อยู่บนเมนบอร์ดซึ่งมักจะเป็นแรม (RAM) การทดสอบทำได้โดยการเขียนข้อมูลลงแรม แล้วทดสอบอ่านกลับดูว่าเหมือนกับข้อมูลที่เขียนลงไปในครั้งแรกหรือไม่ในช่วงนี้เองที่ผู้ใช้จะเห็นตัวเลขวิ่งที่หน้าจอ




7. ซีพียูตรวจว่ามีคีย์บอร์ดเสียบอยู่หรือไม่ และมีใครกดปุ่มคีย์ไหนค้างอยู่


8. โพสต์จะส่งสัญญาณไปยังบัสของดิสก์ไดร์ฟต่าง ๆ และฟังสัญญาณโต้กลับว่าไดร์ฟไหนพร้อมที่จะทำงาน


9. สำหรับเครื่อง AT หรือเครื่องรุ่นใหม่ ๆ กระบวนการโพสต์จะทำการเปรียบเทียบผลการตรวจสอบอุปกรณ์กับข้อมูลที่บันทึกไว้ในซีมอส (CMOS) ถ้าข้อมูลไม่ต้องกับที่โพสต์ตรวจสอบมา โพสต์ก็อาจจะเข้าสู่โปรแกรมเซตอัปเพื่อให้เรากำหนดชนิดของอุปกรณ์ใหม่ (ซีมอสเป็นชนิดของชิปหน่วยความจำ มันสามารถเก็บข้อมูลได้นานตราบเท่าที่เราป้อนไฟเลี้ยงจากแบตเตอรี่ให้) อนึ่ง ข้อมูลภายในซีมอสจะไม่หายไปเมื่อมีการปิดไฟเครื่อง แต่จะหายไปได้ในกรณีที่เราใช้แบตเตอรี่มานาน แล้วแบตเตอรี่ไฟหมด (เครื่องพีซีรุ่น XTจะไม่มีหน่วยความจำซีมอสนี้)


10. บางเครื่องที่มีการใส่อุปกรณ์ที่มีไบออสของมันเอง เช่น การ์ดควบคุมดิสก์ชนิด SCSI (อ่านว่าสกัสซี่)โปรแกรมไบออสของการ์ดหรืออุปกรณ์เหล่านี้จะถูกจดจำและผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่งของไบออสระบบ ก่อนที่เครื่องพีซีจะเข้าสู่ขั้นตอนต่อไปในการบูต ซึ่งเป็นการโหลดหรือบรรจุโอเอสจากดิสก์ลงสู่หน่วยความจำ



11 กันยายน, 2551

ลีนุกซ์ คือ ระบบปฏิบัตการแบบ 32 บิตที่เป็นยูนิกซ์โคลน สำหรับเครื่องพีซ
ี และแจกจ่ายให้ใช้ฟรี สนับสนุนการใช้งานแบบหลากงาน หลายผู้ใช้ (MultiUser-MultiTasking)
มีระบบ X วินโดวส์ ซึ่งเป็นระบบการติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟฟิก ที่ไม่ขึ้นกับโอเอสหรือฮาร์ดแวร์ใดๆ
(มักใช้กันมากในระบบยูนิกซ์) และมาตรฐานการสื่อสาร TCP/IP ทีใช้เป็นมาตรฐานการสื่อสาร
ในอินเทอร์เนตมาให้ในตัว
ลีนุกซ์มีความเข้ากันได้ (compatible) กับมาตรฐาน POSIX ซึ่งเป็นมาตรฐานอินเทอร์เฟส
ที่ระบบยูนิกซ์ส่วนใหญ่จะต้องมี และมีรูปแบบบางส่วนที่คล้ายกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จากค่าย Berkeley และ System V
โดยความหมายทางเทคนิคแล้ว ลีนุกซ์ เป็นเพียงเคอร์เนล (kernel) ของระบบปฏิบัติการ
ซึ่งจะทำหน้าที่ในด้านของการจัดสรรและบริหารโพรเซส งานการจัดการไฟล์และอุปกรณ์ I/O ต่างๆ
แต่ผู้ใช้ทั่วๆไปจะรู้จักลีนุกซ์ผ่านทางแอพพลิเคชั่น และระบบอินเทอร์เฟสที่เขาเหล่านั้นเห็น (เช่น Shell หรือ X วินโดวส์)
ระบบลีนุกซ์ตั้งแต่รุ่นที่ 4 นั้นสามารถทำงานได้บนซีพียูหลายตระกูลเช่น บนซีพียูของอินเทล ( PC Intel )
ดิจิตอลอัลฟา คอมพิวเตอร์ ( Digital Alpha Computer ) และซันสปาร์ค ( Sun Sparc )
เนื่องจากใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า RPM ( RedHat Package Management ) ถึงแม้ว่าในปัจจุบันนี้
ลีนุกซ์ยังไม่สามารถแทนที่ไมโครซอฟต์วินโดวส์ หรือแมคโอเอส ( Mac OS )ได้ทั้งหมด
ก็ตามแต่ผู้ใช้จำนวนไม่น้อยที่หันมาใช้ และช่วยกันพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนลีนุกซ์กัน
ในเรื่องของการดูแลระบบลึนุกซ์นั้น ภายในระบบลีนุกซ์เองมีเครื่องมือที่เรียกว่า
Glint ( Graphical Linux Installation Tool ) ช่วยสำหรับดำเนินการให้สะดวกยิ่งขึ้น
การที่ลีนุกซ์ได้รับความนิยมและมีผู้สนใจนำไปใช้งานเพิ่มมากขึ้น ก็เนื่องมาจากประสิทธิภาพการทำงาน ข้อดี และประโยชน์ของลีนุกซ์ซึ่งมีอยู่มากมาย โดยสามารถสรุปเป็นหัวข้อได้ดังต่อไปนี้
ลีนุกซ์ถอดแบบมาจากยูนิกซ์ ยูนิกซืเป็นระบบปฏิบัติการที่เก่าแก่และขึ้นชื่อมานานในเรื่องประสิทธิภาพการทำงาน ลีนุกซ์เป็นการถอดแบบมาจากยูนิกซ์ ดังนั้นคุณสมบัติของยูนิกซ์เรื่องของระบบความปลอดภัย ความสามารถในการทำงานพร้อมกันหงายงาน (Multi Tasking) ใช้งานได้พร้อมกันหลายคน (Multi User) ประสิทธิภาพในการทำงานเป็นเซิร์ฟเวอร์รวมทั้งคุณสมบัติอื่นๆ อีกมากมาย จึงได้รับการถ่ายทอดมาสู่ลีนุกซ์ด้วย
ใช้งานลีนุกซ์ได้ไม่เสียค่าใช้จ่าย ลีนุกซ์และโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานบนลีนุกซ์จะอยู่ภายใต่ลิขสิทธิ์ที่เรียกกันว่า General License (GPL) ซึ่งหมายความว่า เราสามารถนำลีนุกซ์มาใช้งานได้ฟรี นำไปใช้ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ปรับปรุงแก้ไขได้ตามต้องการ โดยซอร์สโค้ดที่ได้ทำการแก้ไขจะต้องเผยแพร่ให้ผู้อื่นใช้ได้ฟรีเหมือนกับต้นแบบ
ความปลอดภัยในการทำงาน ลีนุกซ์เป็นระบบที่มีความปลอดภัยในการใช้งานสูง ก่อนที่จะเข้าไปใช้งานทุกครั้งจะมีการตรวจสอบโดยผู้ใช้ต้องทำการป้อนชื่อและรหัสผ่าน เพื่อแสดงสิทธิในการใช้งาน (หรือที่เรียกว่าการ Log in) ให้ถูกต้องจึงจะเข้าใช้งานลีนุกซ์ได้
เสถียรภาพในการทำงาน ลีนุกซ์มัเสถียรภาพในการทำงานสูง ปัญหาระบบล่มในระหว่างทำงานจะไม่ค่อยมีให้พบ โดยความสามารถพิเศษของลีนุกซ์อยู่ที่การตรวจสอบความสัมพันธ์ของโปรแกรมในการทำงาน เช่น ถ้าเราติดตั้งโปรแกรม 1 ลีนุกซ์จะทำการตรวจสอบว่าโปรแกรม 1 มีการเรียกใช้งานโปรแกรมอื่นทำงานด้วยหรือไม่ นอกจากนี้ถ้าทำการติดตั้งหรือลบโปรแกรมออกจากระบบ เราไม่ต้องบู๊ตเครื่องใหม่ สามารถทำงานต่อไปได้ทันที
สนับสนุนฮาร์ดแวร์ทั้งเก่าและใหม่ เทคโนโลยีของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ระบบปฏิบัติการโดยส่วนใหญ่มักจะออกมาเพื่อรองรับประสิทธิภาพการทำงานของฮาร์ดแวร์ที่พัฒนาขึ้น จนทำให้บางครั้งต้องการอัพเกรดเครื่องตาม แต่สำหรับลีนุกซ์จะยังคงสนับสนุนฮาร์ดแวร์เก่าให้สามารถใช้งานได้ โดยจะเพิ่มส่วนของการสนับสนุนฮาร์ดแวร์ตัวใหม่ลงไปเท่านั้น ทำให้เราไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนฮาร์ดแวร์ซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายลงไปได้มาก
ลีนุกซ์กับระบบเครือข่าย จุดเด่นอีกเรื่องที่สำคัญของลีนุกซ์ก็คือ การใช้งานกับระบบเครือข่าย ลีนุกซ์สามารถใช้เป็นเซิร์ฟเวอร์ (Server) ในระบบเครือข่ายร่วมกับเครื่องไคลเอนท์ (Client) ซึ่งติดตั้งระบบปฏิบัติการอื่นได้ นอกจากนี้ลีนุกซ์ยังสนับสนุนโปรโตคอลในการทำงานกับระบบเครือข่ายมากมายอย่างเช่น T
ลีนุกซ์ที่ไลนัสและนักพัฒนาร่วมกันพัฒนาขึ้น เป็นเพียงส่วนที่เรียกกันว่า เคอร์เนล (Kernel) หรือแกนการทำงานหลักของระบบ แต่เคอร์เนลไม่สามารถทำงานตามลำพังได้ต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมและอุปกรณ์อื่นๆ ดังรูป
โครงสร้างของลีนุกซ์
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) คือ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนประกอบภายในและส่วนประกอบภายนอก อย่างเช่น แรม , ฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเป็นส่วนที่เรามองเห็นและจับต้องได้
เคอร์เนล (Kernel) เคอร์เนลเป็นส่วนประกอบที่สำคุญของระบบ เรียกว่าเป็นแกนหรือหัวใจของระบบก็ว่าได้ เคอร์เนลจะมีหน้าที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของระบบ ตั้งแต่การจัดสรรทรัพยากรของระบบบริการโพรเซสงาน (Process) การจัดการไฟล์และอุปกรณ์อินพุต , เอาต์พุต บรหารหน่วยความจำ โดยเคอร์เนลจะควบคุมอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ของเครื่องทั้งหมด ดังนั้นเคอร์เนลจึงขึ้นอยู่กับฮาร์ดแวร์ ถ้าฮาร์ดแวร์เปลี่ยนรุ่นใหม่ เคอร์เนลก็จะต้องเปลี่ยนไปด้วย
เชลล์ (Shell) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างผู้ใช้กับเคอร์เนล โดยรับคำสั่งจากผู้ใช้ทางอุปกรณ์อินพุต อย่างเข่น คีย์บอร์ด แล้วทำการแปลให้เป็นภาษาที่เครื่องเข้าใจ นอกจากนี้เชลล์ยังทำหน้าที่ในการควบคุมและกำหนดทิศทางของอินพุตและเอาท์พุตได้ด้วยว่าจะให้เข้าหรือออกมาทางใด เช่น อาจกำหนดให้เอาต์พุตออกมาทางหน้าจอ หรือเก็บลงในไฟล์ก็ได้
โปรแกรมประยุกต์ (Application) คือ โปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในงานต่างๆ บนลีนุกซ์ อย่างเช่น Star Office (โปรแกรมจัดการทั่วไปในสำนักงานคล้ายกับ Microsoft Office) , Gimp (โปรแกรมแต่งภาพบนลีนุกซ์คล้ายกับ Photoshop) โดยที่โปรแกรมประยุกต์ต่างๆ เหล่านี้มีการพัฒนาร่วมกันโดยนักพัฒนาทั่วโลกและเผยแพร่ให้ดาวน์โหลดไปใช้งานได้ฟรี จึงมีโปรแกรมสำหรับใช้งานบนลีนุกซ์เกิดขึ้นมากมายCP/IP , DNS , FTP

Linux

ลีนุกซ์คืออะไร
ลีนุกซ์ระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิต ที่เป็นยูนิกซ์โคลน สำหรับเครื่องพีซี และแจกจ่ายให้ใช้ฟรี สนับสนุนการใช้งานแบบหลากงาน หลายผู้ใช้ (MultiUser-MultiTasking) มีระบบ X วินโดวส์ ซึ่งเป็นระบบการติดต่อผู้ใช้แบบกราฟฟิก ที่ไม่ขึ้นกับโอเอสหรือฮาร์ดแวร์ใดๆ (มักใช้กันมากในระบบยูนิกซ์) และมาตรฐานการสื่อสาร TCP/IP ที่ใช้เป็นมาตรฐานการสื่อสารในอินเทอร์เน็ตมาให้ในตัว ลีนุกซ์มีความเข้ากันได้ (compatible) กับ มาตรฐาน POSIX ซึ่งเป็นมาตรฐานอินเทอร์เฟสที่ระบบยูนิกซ์ส่วนใหญ่จะต้องมีและมีรูปแบบบางส่วนที่คล้ายกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จากค่าย Berkeley และ System V โดยความหมายทางเทคนิคแล้วลีนุกซ์ เป็นเพียงเคอร์เนล (kernel) ของระบบปฏิบัติการ ซึ่งจะทำหน้าที่ในด้านของการจัดสรรและบริหารโพรเซสงาน การจัดการไฟล์และอุปกรณ์ I/O ต่างๆ แต่ผู้ใช้ทั่วๆไปจะรู้จักลีนุกซ์ผ่านทางแอพพลิเคชั่นและระบบอินเทอร์เฟสที่เขาเหล่านั้นเห็น (เช่น Shell หรือ X วินโดวส์) ถ้าคุณรันลีนุกซ์บนเครื่อง 386 หรือ 486 ของคุณ มันจะเปลี่ยนพีซีของคุณให้กลายเป็นยูนิกซ์เวอร์กสเตชันที่มีความสามารถสูง เคยมีผู้เทียบประสิทธิภาพระหว่างลีนุกซ์บนเครื่องเพนเทียม และเครื่องเวอร์กสเตชันของซันในระดับกลาง และได้ผลออกมาว่าให้ประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกัน และนอกจากแพลตฟอร์มอินเทลแล้ว ปัจจุบันลีนุกซ์ยังได้ทำการพัฒนาระบบเพื่อให้สามารถใช้งานได้บนแพลตฟอร์มอื่นๆด้วย เช่น DEC Alpha , Motorolla Power-PC , MIPS เมื่อคุณสร้างแอพพลิเคชันขึ้นมาบนแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่งแล้ว คุณก็สามารถย้ายแอพพลิเคชันของคุณไปวิ่งบนแพลตฟอร์มอื่นได้ไม่ยาก ลีนุกซ์มีทีมพัฒนาโปรแกรมที่ต่อเนื่อง ไม่จำกัดจำนวนของอาสาสมัครผู้ร่วมงาน และส่วนใหญ่จะติดต่อกันผ่านทางอินเทอร์เน็ต เพราะที่อยู่อาศัยจริงๆของแต่ละคนอาจจะอยู่ไกลคนละซีกโลกก็ได้ และมีแผนงานการพัฒนาในระยะยาว ทำให้เรามั่นใจได้ว่า ลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่มีอนาคต และจะยังคงพัฒนาต่อไปได้ตราบนานเท่านาน
ประวัติของลีนุกซ์
ลีนุกซ์ถือกำเนิดขึ้นในฟินแลนด์ ปี คศ. 1980 โดยลีนุส โทรวัลด์ส (Linus Trovalds) นักศึกษาภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) ในมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ลีนุส เห็นว่าระบบมินิกซ์ (Minix) ที่เป็นระบบยูนิกซ์บนพีซีในขณะนั้น ซึ่งทำการพัฒนาโดย ศ.แอนดรูว์ ทาเนนบาวม์ (Andrew S. Tanenbaum) ยังมีความสามารถไม่เพียงพอแก่ความต้องการ จึงได้เริ่มต้นทำการพัฒนาระบบยูนิกซ์ของตนเองขึ้นมา โดยจุดประสงค์อีกประการ คือต้องการทำความเข้าใจในวิชาระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ด้วยเมื่อเขาเริ่มพัฒนาลีนุกซ์ไปช่วงหนึ่งแล้ว เขาก็ได้ทำการชักชวนให้นักพัฒนาโปรแกรมอื่นๆมาช่วยทำการพัฒนาลีนุกซ์ ซึ่งความร่วมมือส่วนใหญ่ก็จะเป็นความร่วมมือผ่านทางอินเทอร์เน็ต ลีนุกซ์จะเป็นคนรวบรวมโปรแกรมที่ผู้พัฒนาต่างๆได้ร่วมกันทำการพัฒนาขึ้นมาและแจกจ่ายให้ทดลองใช้เพื่อทดสอบหาข้อบกพร่อง ที่น่าสนใจก็คืองานต่างๆเหล่านี้ผู้คนทั้งหมดต่างก็ทำงานโดยไม่คิดค่าตอบแทน และทำงานผ่านอินเทอร์เน็ตทั้งหมด ปัจจุบันเวอร์ชันล่าสุดของระบบลีนุกซ์ที่ได้ประกาศออกมาคือเวอร์ชัน 2.0.13 ข้อสังเกตในเรื่องเลขรหัสเวอร์ชันนี้ก็คือ ถ้ารหัสเวอร์ชันหลังทศนิยมตัวแรกเป็นเลขคู่เช่น 1.0.x,1.2.x เวอร์ชันเหล่านี้จะถือว่าเป็นเวอร์ชันที่เสถียรแล้วและมีความมั่นคงในระดับหนึ่ง แต่ถ้าเป็นเลขคี่เช่น 1.1.x, 1.3.x จะถือว่าเป็นเวอร์ชันทดสอบ ซึ่งในเวอร์ชันเหล่านี้จะมีการเพิ่มเติมความสามารถใหม่ๆลงไป และยังต้องทำการทดสอบหาข้อผิดพลาดต่างๆอยู่
ระบบปฏิบัติการเก่าแก่ที่ถูกพัฒนาขึ้นในปี 1969 โดยบริษัทเอทีแอนด์ที (AT&T หรือ American Telephone & Telegraph) เพื่อใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ โดยแรกเริ่มจะถูกใช้เพื่องานวิจัยหรือเพื่อการศึกษาในมหาวิทยาลัยเท่านั้น ต่อมาได้ถูกนำมาใช้ในทางธุรกิจและเป็นที่นิยมแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับผู้ใช้หลายคน(Multi-User) และสนับสนุนการทำงานแบบหลายงาน (Multi-task) ที่เปิดโอกาสผู้ใช้สามารถรันงานได้มากกว่าหนึ่งงานในเวลาเดียวกัน และเนื่องจากเป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นด้วยภาษาซี ไม่ใช่แอสเซมบลี ดังนั้นจึงมีคุณสมบัติที่เด่นกว่าระบบปฏิบัติการอื่น ๆ คือ การไม่ยึดติดอยู่กับฮาร์ดแวร์ (Hardware independent) ดังนั้นจึงสามารถใช้งานยูนิกซ์ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เกือบทุกแบบทุกประเภทตั้งแต่ไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ไปจนถึงเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ และนอกจากนี้ยังมีการเพิ่มเติมความสามารถทางด้านการเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายอีกด้วย
หลายบริษัทได้หันมาสนใจยูนิกซ์ AT&T จึงได้ออกใบอนุญาตให้กับบริษัทผู้ผลิตมินิคอมพิวเตอร์และเครื่องเวอร์กสเตชันทั้งหลาย เป็นผลให้ยูนิกซ์ได้รับการปรับปรุงแก้ไขและถูกขายให้กับบริษัทอื่น ๆ อีกหลายบริษัท ซึ่งก็ได้มีการพัฒนายูนิกซ์เวอร์ชันใหม่ ๆ ออกมามากมาย ตัวอย่างเช่น ยูนิกซ์เวอร์ชัน AIX จากบริษัทไอบีเอ็ม Solaris จากบริษัทซันไมโครซิสเต็ม NextStep จากบริษัท Next หรือ Motif จากบริษัทไอบีเอ็ม ดิจิตัลอีควิบเมนท์ และฮิวเลทท์แพ็คการ์ด (Hewlett-Packard) ที่ร่วมกันพัฒนา Motif ขึ้นมา หรือแม้แต่ในปัจจุบันที่มีกลุ่มผู้คนจากทั่วโลกได้ร่วมกันพัฒนายูนิกซ์เวอร์ชันสำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า ไลนักซ์หรือลีนุกซ์ (Linux) ออกมา ซึ่งเกิดจากการแลกเปลี่ยนความเห็นกันบนอินเตอร์เน็ตที่ต้องการจะพัฒนายูนิกซ์สำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ที่มีประสิทธิภาพเท่ากับเครื่องขนาดใหญ่ ซึ่งจะเป็นการลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายกว่าการใช้ยูนิกซ์สำหรับเครื่องขนาดใหญ่
ยูนิกซ์ยังเป็นระบบปฏิบัติการที่มีเครื่องมือ (tools) หรือโปรแกรมอำนวยความสะดวก (utilities) และเซลล์ (shell) ที่ช่วยนักเขียนโปรแกรมสามารถพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนยูนิกซ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ โครงสร้างระบบไฟล์ยังเหมือนกับระบบปฏิบัติการดอส แต่คำสั่งอาจแตกต่างกันไปบ้าง
ข้อด้อยของยูนิกซ์คือ ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะต้องจดจำคำสั่งต่าง ๆ ของยูนิกซ์ ซึ่งค่อนข้างยากต่อการจดจำ แต่ในปัจจุบันผู้ผลิตเครื่องที่ใช้ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ก็ได้พัฒนาโปรแกรมที่มีลักษณะเป็น GUI (Graphic User Interface) จึงช่วยให้การใช้งานยูนิกซ์ง่ายขึ้น นอกจากนี้การที่ยูนิกซ์ถูกพัฒนาเป็นหลายเวอร์ชันจากหลายบริษัท ซึ่งแต่ละเวอร์ชันอาจมีข้อแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย จึงทำให้มีผู้มองว่ายูนิกซ์ไม่มีความเป็นมาตรฐานเดียวกัน
แต่เนื่องจากยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้งานได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์หลายประเภทหลายแบบ ดังนั้นจึงเป็นระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้มากในระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ที่มีการเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ละประเภทเข้าด้วยกันในลักษณะของเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
จุดเด่นของ LINUX 1. เป็นระบบที่ใช้ได้ฟรี 2. เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิด 3. คอมแพติเบิลกับ Unix 4. ทำงานได้บน PC ทั่วไป 5. ทำงานร่วมกับ DOS และ Windows ได้ 6. ใช้แฟ้มร่วมกับระบบปฏิบัติการอื่นได้ 7. มีความสามารถด้าน network หลายรูปแบบ 8. มีประสิทธิภาพสูงในการใช้ Hardware 9. Kernel มีประสิทธิภาพสูง 10. มีการใช้ Dynamic linked shared libraries 11. การช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหา