11 กันยายน, 2551

ลีนุกซ์ คือ ระบบปฏิบัตการแบบ 32 บิตที่เป็นยูนิกซ์โคลน สำหรับเครื่องพีซ
ี และแจกจ่ายให้ใช้ฟรี สนับสนุนการใช้งานแบบหลากงาน หลายผู้ใช้ (MultiUser-MultiTasking)
มีระบบ X วินโดวส์ ซึ่งเป็นระบบการติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟฟิก ที่ไม่ขึ้นกับโอเอสหรือฮาร์ดแวร์ใดๆ
(มักใช้กันมากในระบบยูนิกซ์) และมาตรฐานการสื่อสาร TCP/IP ทีใช้เป็นมาตรฐานการสื่อสาร
ในอินเทอร์เนตมาให้ในตัว
ลีนุกซ์มีความเข้ากันได้ (compatible) กับมาตรฐาน POSIX ซึ่งเป็นมาตรฐานอินเทอร์เฟส
ที่ระบบยูนิกซ์ส่วนใหญ่จะต้องมี และมีรูปแบบบางส่วนที่คล้ายกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จากค่าย Berkeley และ System V
โดยความหมายทางเทคนิคแล้ว ลีนุกซ์ เป็นเพียงเคอร์เนล (kernel) ของระบบปฏิบัติการ
ซึ่งจะทำหน้าที่ในด้านของการจัดสรรและบริหารโพรเซส งานการจัดการไฟล์และอุปกรณ์ I/O ต่างๆ
แต่ผู้ใช้ทั่วๆไปจะรู้จักลีนุกซ์ผ่านทางแอพพลิเคชั่น และระบบอินเทอร์เฟสที่เขาเหล่านั้นเห็น (เช่น Shell หรือ X วินโดวส์)
ระบบลีนุกซ์ตั้งแต่รุ่นที่ 4 นั้นสามารถทำงานได้บนซีพียูหลายตระกูลเช่น บนซีพียูของอินเทล ( PC Intel )
ดิจิตอลอัลฟา คอมพิวเตอร์ ( Digital Alpha Computer ) และซันสปาร์ค ( Sun Sparc )
เนื่องจากใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า RPM ( RedHat Package Management ) ถึงแม้ว่าในปัจจุบันนี้
ลีนุกซ์ยังไม่สามารถแทนที่ไมโครซอฟต์วินโดวส์ หรือแมคโอเอส ( Mac OS )ได้ทั้งหมด
ก็ตามแต่ผู้ใช้จำนวนไม่น้อยที่หันมาใช้ และช่วยกันพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนลีนุกซ์กัน
ในเรื่องของการดูแลระบบลึนุกซ์นั้น ภายในระบบลีนุกซ์เองมีเครื่องมือที่เรียกว่า
Glint ( Graphical Linux Installation Tool ) ช่วยสำหรับดำเนินการให้สะดวกยิ่งขึ้น
การที่ลีนุกซ์ได้รับความนิยมและมีผู้สนใจนำไปใช้งานเพิ่มมากขึ้น ก็เนื่องมาจากประสิทธิภาพการทำงาน ข้อดี และประโยชน์ของลีนุกซ์ซึ่งมีอยู่มากมาย โดยสามารถสรุปเป็นหัวข้อได้ดังต่อไปนี้
ลีนุกซ์ถอดแบบมาจากยูนิกซ์ ยูนิกซืเป็นระบบปฏิบัติการที่เก่าแก่และขึ้นชื่อมานานในเรื่องประสิทธิภาพการทำงาน ลีนุกซ์เป็นการถอดแบบมาจากยูนิกซ์ ดังนั้นคุณสมบัติของยูนิกซ์เรื่องของระบบความปลอดภัย ความสามารถในการทำงานพร้อมกันหงายงาน (Multi Tasking) ใช้งานได้พร้อมกันหลายคน (Multi User) ประสิทธิภาพในการทำงานเป็นเซิร์ฟเวอร์รวมทั้งคุณสมบัติอื่นๆ อีกมากมาย จึงได้รับการถ่ายทอดมาสู่ลีนุกซ์ด้วย
ใช้งานลีนุกซ์ได้ไม่เสียค่าใช้จ่าย ลีนุกซ์และโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานบนลีนุกซ์จะอยู่ภายใต่ลิขสิทธิ์ที่เรียกกันว่า General License (GPL) ซึ่งหมายความว่า เราสามารถนำลีนุกซ์มาใช้งานได้ฟรี นำไปใช้ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ปรับปรุงแก้ไขได้ตามต้องการ โดยซอร์สโค้ดที่ได้ทำการแก้ไขจะต้องเผยแพร่ให้ผู้อื่นใช้ได้ฟรีเหมือนกับต้นแบบ
ความปลอดภัยในการทำงาน ลีนุกซ์เป็นระบบที่มีความปลอดภัยในการใช้งานสูง ก่อนที่จะเข้าไปใช้งานทุกครั้งจะมีการตรวจสอบโดยผู้ใช้ต้องทำการป้อนชื่อและรหัสผ่าน เพื่อแสดงสิทธิในการใช้งาน (หรือที่เรียกว่าการ Log in) ให้ถูกต้องจึงจะเข้าใช้งานลีนุกซ์ได้
เสถียรภาพในการทำงาน ลีนุกซ์มัเสถียรภาพในการทำงานสูง ปัญหาระบบล่มในระหว่างทำงานจะไม่ค่อยมีให้พบ โดยความสามารถพิเศษของลีนุกซ์อยู่ที่การตรวจสอบความสัมพันธ์ของโปรแกรมในการทำงาน เช่น ถ้าเราติดตั้งโปรแกรม 1 ลีนุกซ์จะทำการตรวจสอบว่าโปรแกรม 1 มีการเรียกใช้งานโปรแกรมอื่นทำงานด้วยหรือไม่ นอกจากนี้ถ้าทำการติดตั้งหรือลบโปรแกรมออกจากระบบ เราไม่ต้องบู๊ตเครื่องใหม่ สามารถทำงานต่อไปได้ทันที
สนับสนุนฮาร์ดแวร์ทั้งเก่าและใหม่ เทคโนโลยีของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ระบบปฏิบัติการโดยส่วนใหญ่มักจะออกมาเพื่อรองรับประสิทธิภาพการทำงานของฮาร์ดแวร์ที่พัฒนาขึ้น จนทำให้บางครั้งต้องการอัพเกรดเครื่องตาม แต่สำหรับลีนุกซ์จะยังคงสนับสนุนฮาร์ดแวร์เก่าให้สามารถใช้งานได้ โดยจะเพิ่มส่วนของการสนับสนุนฮาร์ดแวร์ตัวใหม่ลงไปเท่านั้น ทำให้เราไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนฮาร์ดแวร์ซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายลงไปได้มาก
ลีนุกซ์กับระบบเครือข่าย จุดเด่นอีกเรื่องที่สำคัญของลีนุกซ์ก็คือ การใช้งานกับระบบเครือข่าย ลีนุกซ์สามารถใช้เป็นเซิร์ฟเวอร์ (Server) ในระบบเครือข่ายร่วมกับเครื่องไคลเอนท์ (Client) ซึ่งติดตั้งระบบปฏิบัติการอื่นได้ นอกจากนี้ลีนุกซ์ยังสนับสนุนโปรโตคอลในการทำงานกับระบบเครือข่ายมากมายอย่างเช่น T
ลีนุกซ์ที่ไลนัสและนักพัฒนาร่วมกันพัฒนาขึ้น เป็นเพียงส่วนที่เรียกกันว่า เคอร์เนล (Kernel) หรือแกนการทำงานหลักของระบบ แต่เคอร์เนลไม่สามารถทำงานตามลำพังได้ต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมและอุปกรณ์อื่นๆ ดังรูป
โครงสร้างของลีนุกซ์
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) คือ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนประกอบภายในและส่วนประกอบภายนอก อย่างเช่น แรม , ฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเป็นส่วนที่เรามองเห็นและจับต้องได้
เคอร์เนล (Kernel) เคอร์เนลเป็นส่วนประกอบที่สำคุญของระบบ เรียกว่าเป็นแกนหรือหัวใจของระบบก็ว่าได้ เคอร์เนลจะมีหน้าที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของระบบ ตั้งแต่การจัดสรรทรัพยากรของระบบบริการโพรเซสงาน (Process) การจัดการไฟล์และอุปกรณ์อินพุต , เอาต์พุต บรหารหน่วยความจำ โดยเคอร์เนลจะควบคุมอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ของเครื่องทั้งหมด ดังนั้นเคอร์เนลจึงขึ้นอยู่กับฮาร์ดแวร์ ถ้าฮาร์ดแวร์เปลี่ยนรุ่นใหม่ เคอร์เนลก็จะต้องเปลี่ยนไปด้วย
เชลล์ (Shell) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างผู้ใช้กับเคอร์เนล โดยรับคำสั่งจากผู้ใช้ทางอุปกรณ์อินพุต อย่างเข่น คีย์บอร์ด แล้วทำการแปลให้เป็นภาษาที่เครื่องเข้าใจ นอกจากนี้เชลล์ยังทำหน้าที่ในการควบคุมและกำหนดทิศทางของอินพุตและเอาท์พุตได้ด้วยว่าจะให้เข้าหรือออกมาทางใด เช่น อาจกำหนดให้เอาต์พุตออกมาทางหน้าจอ หรือเก็บลงในไฟล์ก็ได้
โปรแกรมประยุกต์ (Application) คือ โปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในงานต่างๆ บนลีนุกซ์ อย่างเช่น Star Office (โปรแกรมจัดการทั่วไปในสำนักงานคล้ายกับ Microsoft Office) , Gimp (โปรแกรมแต่งภาพบนลีนุกซ์คล้ายกับ Photoshop) โดยที่โปรแกรมประยุกต์ต่างๆ เหล่านี้มีการพัฒนาร่วมกันโดยนักพัฒนาทั่วโลกและเผยแพร่ให้ดาวน์โหลดไปใช้งานได้ฟรี จึงมีโปรแกรมสำหรับใช้งานบนลีนุกซ์เกิดขึ้นมากมายCP/IP , DNS , FTP

ไม่มีความคิดเห็น: